เกี่ยวกับ สสส.
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกองทุน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โดยมีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสังคม ในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีครบ 4 ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม และร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่
วิสัยทัศน์
ทุกคนบนแผ่นดินไทย
มีขีดความสามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม
ที่เอื้อต่อสุขภาวะ”
พันธกิจ
“จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง
บุคคลและองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีด
ความสามารถและสร้างสรรค์
ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ”
ที่มาของเงินทุน
เงินทุนหลักได้จากเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพซึ่งมาจากภาษีที่รัฐจัดเก็บจากผู้ผลิตและนำเข้าสุราและยาสูบในอัตรา ร้อยละ 2 ของภาษีที่ต้องชำระ
การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
งบประมาณในแต่ละปีของ สสส. ถูกจัดสรรเพื่อให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ โดยแบ่งเป็นสองลักษณะใหญ่ๆ
- โครงการเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ(มากกว่า 90%)
- โครงการสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม เพื่อเปิดโอกาสและให้พื้นที่กับทุกคนใน การสร้างนวัตกรรม (ไม่เกิน 10 %)
- 15 แผน
การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมสุขภาวะ
แผนควบคุมยาสูบ
แผนการควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด
แผนการจัดการความปลอดภัย และปัจจัยเสี่ยงทางสังคม
แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ
แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ
แผนสุขภาวะชุมชน
แผนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและ ครอบครัว
แผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร
แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะ ทางปัญญา
แผนสร้างสรรค์โอกาสและ นวัตกรรมสุขภาวะ
แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านระบบบริการสุขภาพ
แผนพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ
แผนสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ
- ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
สสส. ดำเนินงานภายใต้ “ยุทธศาสตร์ไตรพลัง” สอดประสานกัน
เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ