เรื่องผลของการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงต่างแบบที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Spread the love
25. ชยาภรณ์ ขุมทอง (2547)  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้ทำการวิจัยเรื่องผลของการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงต่างแบบที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 75 คน  ผลการวิจัยพบว่าความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มตัวอย่าง หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่องสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มตัวอย่าง หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มตัวอย่าง หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องโดยไม่ให้การเสริมแรงไม่สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรม
ชยาภรณ์ แสงขาว.  (2547).  ผลของการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงต่างแบบที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 .  วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา).  ปัตตานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : ดร.บัญญัติ ยงย่วน.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง 2. เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะ 3. เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องโดยไม่ให้การเสริมแรง 4. เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง การใช้กิจกรรมย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะ และการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องโดยไม่ให้การเสริมแรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนบ้านสะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1.นิทาน 40 เรื่อง 2. คู่มือการอ่านเพื่อย่อเรื่อง 3. แผนการสอน 4. แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่าน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น .79 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่องสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้กิจกรรมการย่อเรื่องโดยไม่ให้การเสริมแรงไม่สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรม
Shares:
QR Code :
QR Code