เรื่องผลของการเรียนรู้แบบ Tribe ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Spread the love

32. ฉัตรชนก แสงขาว (2553)  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาวิชาการออกแบบระบบการเรียนการสอน  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้ทำการวิจัยเรื่องผลของการเรียนรู้แบบ Tribe ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 92คน  ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเจตคติต่อสังคมพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านอยู่ในระดับดี

ฉัตรชนก แสงขาว.  (2553).  ผลของการเรียนรู้แบบ Tribe ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.  วิทยานิพนธ์ศศ.ม. (การออกแบบระบบการเรียนการสอน).  ปัตตานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : รศ. ดร.คณิตา นิจจรัลกุล.

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อวัดระดับเจตคติเกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี จำนวน 92 คน (2ห้องเรียน) ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบมีกลุ่มควบคุม วัดผลเฉพาะหลังการทดลอง (Pottest – Only control group design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่าน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติเรื่องการอ่าน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่าน 4) แบบวัดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ 5) แบบจัดเจตคติต่อสังคมพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิต ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2) ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) เจตคติต่อสังคมพหุวัฒนธรรมของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Tribe เรื่องการอ่านอยู่ในระดับดี

33. ปาลิตา ทองย่น  (2553)  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้ทำการวิจัยเรื่องผลของกิจกรรมก่อนการอ่านต่อความสามารถในการอ่านเพื่อเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60คน แบ่งเป็น 2กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน  ผลการวิจัยพบว่า การใช้กิจกรรมก่อนการอ่านทั้งสองรูปแบบทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการคาดเดาเนื้อเรื่องจากภาพ มีพัฒนาการด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการตั้งคำถามก่อนอ่านอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มยังมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมก่อนการอ่านทั้งสองรูปแบบในระดับมาก แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการคาดเดาเนื้อเรื่องจากภาพมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ปาลิตา ทองย่น (2553).  ผลของกิจกรรมก่อนการอ่านต่อความสามารถในการอ่านเพื่อเข้าใจ .  วิทยานิพนธ์ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ).  ปัตตานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : รศ.ดร.ธัญภา ชิระมณี.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมก่อนการอ่านสองรูปแบบ คือ การคาดเดาเนื้อเรื่องจากภาค และการตั้งคำถามก่อนอ่าน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมก่อนการอ่านทั้งสองรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จากโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ต จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เพื่อจัดให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความสามารถทางการอ่านไม่แตกต่างกัน และดำเนินการทดลองสอนกลุ่มตัวอย่างทั้งสองด้วยกิจกรรมก่อนการอ่านที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มตัวอย่างที่หนึ่ง เรียนโดยใช้กิจกรรมการคาดเดาเนื้อเรื่องจากภาพ และกลุ่มตัวอย่างที่สองเรียนโดยใช้กิจกรรมการตั้งคำถามก่อนอ่านเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการอ่าน 22  แผน แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจใช้ก่อนและหลังการทดลอง และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมก่อนการอ่าน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม กลุ่มละ 22 คาบ ในเวลา 11 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่าการใช้กิจกรรมก่อนการอ่านทั้งสองรูปแบบทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการคาดเดาเนื้อเรื่องจากภาพ มีพัฒนาการด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการตั้งคำถามก่อนอ่านอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มยังมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมก่อนการอ่านทั้งสองรูปแบบในระดับมาก แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการคาดเดาเนื้อเรื่องจากภาพมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Shares:
QR Code :
QR Code