เรื่องผลการสอนแบบสตอรี่ไลน์ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
27. อัฐชัย เคารพรัฐ, ว่าที่ร้อยตรี (2547) นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการสอนแบบสตอรี่ไลน์ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสตอรี่ไลน์และการสอนแบบปกติมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และนักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบไดเวอร์เจอร์ (Diverger) และแบบคอนเวอร์เจอร์ (Converger) มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน
อัฐชัย เคารพรัตน์, ว่าที่ร้อยตรี (2547). ผลการสอนแบบสตอรี่ไลน์ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน . วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ปัตตานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : ผศ.ดร.อริยา คูหา.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบสตอรี่ไลน์และการสอนแบบปกติที่มีต่อ
ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงผลของการสอนที่มีรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ 2 แบบ คือ รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์และการสอนแบบปกติ และรูปแบบการเรียนรู้ 2 แบบ ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้แบบไดเวอร์เจอร์ (Diverger) และรูปแบบการเรียนรู้แบบคอนเวอร์เจอร์ (Converger) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 120 คน ของโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multiple Stage Random Sampling) นักเรียนได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบสำรวจรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคล์บ (Kolb ‘s Learning Styles Inventory) 1 ฉบับ 2. แผนการสอนแบบสตอรี่ไลน์และแผนการสอนแบบปกติ จำนวนละ 5 แผน 3. แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ ใช้เวลาในการทดลองเป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน ทดสอบหลังเรียนเพียงครั้งเดียวที่มีกลุ่มควบคุมด้วยแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบแฟคทอเรียสุ่มในบล็อค โมเดลกำหนด 2×2 (รูปแบบการสอน x รูปแบบการเรียนรู้) และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสตอรี่ไลน์และการสอนแบบปกติมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. นักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบไดเวอร์เจอร์ (Diverger) และแบบคอนเวอร์เจอร์ (Converger) มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน