เรื่องผลการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
26. ภคน แก้วภราดัย (2547) นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .001
และนักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ภคมน แก้วภราดัย (2547). ผลการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 . วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ประถมศึกษา). ปัตตานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ : ผศ.ดร.ธีรพงษ์ แก่นอินทร์.
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้กับการสอนแบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้ 5) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนแบบปกติ 6) เพื่อเปรียบเทียบเจตคิตต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้กับการสอนแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การสอนกลยุทธ์การเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย และแบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .001
5. นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติมีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
6. นักเรียนที่ได้รับการสอนกลยุทธ์การเรียนรู้มีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยหลังสอนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001